ชุดแต่งที่วางจำหน่ายแทบทั้งหมดในตลาด ถูกออกแบบเน้นความสวยงามเป็นหลัก จึงอาจทำให้การไหลผ่านอากาศขณะขับขี่แย่ลง พูดง่ายๆ คือ ต้านลมมากขึ้นนั่นเอง ทำให้รถกินน้ำมันมากขึ้นในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูง บางครั้งอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนได้ด้วย เนื่องจากการไหลเวียนของอากาศที่ผิดแปลกไป
ซึ่งการออกแบบชุดแต่งที่ดี และเพิ่มประสิทธิภาพแอโร่ไดนามิคนั้น จะต้องมีการทดสอบในอุโมงค์ลม เพื่อทำให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานใกล้เคียงกับตัวรถเปล่าๆ มากที่สุด หรือไปช่วยเพิ่มแรงกด (Downforce) อย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะถนน
2.อาจถูกเจาะชิ้นส่วนตัวถังโดยไม่รู้ตัว
การติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งลงบนตัวรถ หากไม่ได้เป็นชุดแต่งที่ออกแบบโดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ ช่างจำเป็นต้องมีการเจาะตัวรถเพื่อยึดชุดแต่ง หากเป็นการเจาะกันชนที่เป็นวัสดุไฟเบอร์คงไม่เท่าไหร่ เพราะหากเกิดความเสียหายยังสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย แต่หากเป็นการเจาะตัวถังที่เป็นเหล็ก ก็อาจทำให้เกิดสนิมในระยะยาวได้
3.ตัวรถมีโอกาสเสียหายมากขึ้น
การติดตั้งชุดแต่งจำพวกสเกิร์ตหรือสปอยเลอร์ จะทำให้ระยะห่างจากพื้นลดลง โอกาสที่จะถูกครูดกับสิ่งต่างๆ บนท้องถนนก็มีมากขึ้น หากมีการโหลดเตี้ยด้วย ก็จะทำให้การขึ้นคอสะพานหรือไต่ทางชัน ทำได้ลำบากขึ้นด้วยเช่นกัน
4.ประกันอาจไม่คุ้มครองความเสียหาย
โดยปกติแล้ว หากติดตั้งชุดแต่งเพิ่มเติมภายหลังจากทำประกันรถยนต์ บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะไม่คุ้มครองความเสียหายของชุดแต่ง ดังนั้น ควรแจ้งบริษัทประกันเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมลงบนตัวรถ
5.ราคาขายต่อตกกว่าปกติ
แม้ว่าอุปกรณ์แต่งรถจะมีมูลค่านับแสนบาท แต่การขายรถมือสองที่ผ่านการตกแต่งแล้วนั้น มักได้ราคาเท่ากับหรือต่ำกว่ารถเดิมๆ ที่ไม่ผ่านการตกแต่ง รถแต่งที่ได้ราคาขายต่อสูงกว่ารถเดิมๆ ต้องแต่งได้สวยจริงจนกลายเป็นที่ต้องการของตลาด และต้องขายให้กับผู้ที่ชื่นชอบรถแต่งด้วยกันเท่านั้น
เห็นไหมครับว่าการแต่งรถนั้น แม้ว่าจะทำให้เราได้รถที่สวยงามตามที่เราต้องการ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยข้อเสียบางประการที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงด้วย
CR ข้อมูล :www.sanook.com